วันพุธที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2555

น้ำตาลมะพร้าว ความหวานจากอัมพวา


ชื่อโครงการ                       น้ำตาลมะพร้าว  ความหวานจากอัมพวา

หลักการและเหตุผล      
เนื่องจากคณะผู้จัดทำ ได้เล็งเห็นว่าประเทศไทย มีการปลูกต้นมะพร้าวเป็นจำนวนมาก จึงทำให้มีมะพร้าวมากมายที่ไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์  ซึ่งทำให้มะพร้าวในตลาดมีราคาถูก จึงเห็นสมควรที่จะศึกษาการแปรรูปมะพร้าว ซึ่งทางกลุ่มของข้าพเจ้าได้เลือกน้ำตาลมะพร้าว  ซึงเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากน้ำจากปลายดอกของมะพร้าว ซึ่งเป็นส่วนแรกของมะพร้าวที่จะงอกจะปลายยอดของต้นมะพร้าว เมื่อนำน้ำตาลมะพร้าวมาประกอบหรือปรุงอาหาร จะได้รสชาติที่ดี และกลิ่นที่หอมกว่าน้ำตาลจากอ้อย ดังนั้นผลิตภัณฑ์จากมะพร้าวที่นำมาแปรรูปมาเป็นน้ำตาล จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการเลือกใช้น้ำตาล  อีกทั้งน้ำตาลมะพร้าวยังสามารถมารแปรรูปมาเป็นน้ำตาลปีบ น้ำตาลก้อน  ฯลฯ และสามารถใช้ในการประกอบอาหารเช่น ทำขนมหวาน ทำส้มตำ ผัดไทย แกงเผ็ด หมักหมู และผสมน้ำกระทิในขนมไทย เพื่อเพิ่มรสชาติของอาหารให้มีความหอมอร่อยยิ่งขึ้น
โดยครั้งนี้ คณะผู้จัดเป็นตัวแทนสื่อกลางในการนำเสนอข้อมูลและขั้นตอนในการแปรรูปผลผลิตจากมะพร้าวเป็นน้ำตาลมะพร้าวเพื่อเป็นแนวทางในกาศึกษาเบื้องต้นของผู้ที่ต้องการข้อมูลในการศึกษา
หวังว่ารายงานเล่มนี้จะเป็นข้อมูลเบื้องต้นของผู้ที่ต้องการรู้เกี่ยวกับการทำน้ำตาลมะพร้าว

วัตถุประสงค์                    1. เพื่อให้บุคคลทั่วไปที่สนใจในเรื่องของภูมิปัญญาชาวบ้านที่เน้นในเรื่องของ  

                                                น้ำตาลมะพร้าวของชาวอัมพวาได้มีความรู้เพิ่มยิ่งขึ้น

2.  ปลูกฝังให้มีจิตสำนึกของการอนุรักษ์ภูมิปัญญานี้ไว้สืบทอดต่อไปให้และ  

                                                 ลูกหลาน เพื่อเป็นความรู้และรักษาสืบเนื่องต่อไป

เป้าหมาย            น้ำตาลมะพร้าวที่อำเภออัมพวา ได้เป็นที่รู้จักของผู้คนทั่วไปมากยิ่งขึ้นและมีกาอนุรักษ์ภูมิปัญญานี้ให้สือทอดต่อไปในอนาคต

กลุ่มเป้าหมาย                บุคคลทั่วไป หรือผู้ที่สนใจในเรื่องของการทำน้ำตาลมะพร้าว



วิธีการดำเนินงาน          

ขั้นตอนที่ 1 สืบค้นประวัติและข้อมูลเกี่ยวกับน้ำตาลมะพร้าวที่เราจะไปดำเนินงาน โดยกลุ่มของข้าพเจ้าเลือกสถานที่ที่   “เตาทวี ถนนสายบางแพ-สมุทรสงคราม  78/1 หมู่ 7 ต.บางพรม อำเภอบางคนที จ.สมุทรสงคราม       

ขั้นตอนที่ 2   ติดต่อสถานที่ เตาทวี โดยแจ้งกับเจ้าหน้าที่ เพื่อขอดำเนินงานต่างๆ

ขั้นตอนที่ 3   ดำเนินงานตามขั้นตอนตามที่ได้กำหนดไว้

ขั้นตอนที่ 4   จัดทำแผ่นพับเกี่ยวกับวิธีการทำน้ำตาลมะพร้าวและแจกให้กับนักท่องเที่ยวที่มาในตลาดน้ำอัมพวา และจัดทำสื่อออนไลน์(เว็บบล็อค)เพื่อประชาสัมพันธ์ให้แก่สถานที่ทำมะพร้าว เตาทวี

ขั้นตอนที่ 5   ประเมินผลและรายงานผล


                                                                                                ตารางที่ 1

กิจกรรม              ศึกษาเรียนรู้วิธีการทำน้ำตาลมะพร้าว และจัดทำแผ่นพับเพื่อประชาสัมพันธ์ให้กับสถานที่ที่ไปศึกษาดูงาน เตาทวีภายในตลาดน้ำอัมพวา

ระยะเวลา           ระยะเวลาการดำเนินงานทั้งสิ้น  2 วัน  ดังนี้ 

วันที่ 1   ลงพื้นที่ศึกษาดูงานที่  เตาทวี ถนนสายบางแพ-สมุทรสงคราม  78/1 หมู่ 7 ต.บางพรม อำเภอบางคนที จ.สมุทรสงคราม  

วันที่ 2   ลงพื้นที่ทำการแจกแผ่นพับประชาสัมพันธ์ ณ ตลาดน้ำอัมพวา 

สถานที่ดำเนินงาน             เตาทวี ถนนสายบางแพ-สมุทรสงคราม  78/1 หมู่ 7 ต.บางพรม อำเภอบางคนที จ.สมุทรสงคราม          

งบประมาณ                                                       ค่ารถ                                       2,000     บาท

ค่าที่พัก                                   3,000     บาท (250บาท/คน)

ค่าอุปกรณ์                             2,000    บาท

รวมทั้งสิ้น                            7,000     บาท

การติดตามและประเมินผล

ตรวจสอบการเข้าชมของเว็บบล็อคที่ได้จัดทำขึ้นเพื่อประชาสัมพันธ์ให้กับสถานที่ทำน้ำตาลมะพร้าว และเก็บแบบสำรวจที่จัดทำขึ้นเพื่อสำรวจจำนวนของครัวเรือนที่มีการใช้น้ำตาลมะพร้าวในครัวเรือน และประเมินผลออกมา